วิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ web blog ของนางสาวเดือนเพ็ญ ศิริสัมพันธ์ุ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558

  1. 1. หน้า ๗ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยี” และ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” ระหว่างบทนิยามคําว่า “การโฆษณา” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “ “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัส แทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง “มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. 2. หน้า ๘ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้ มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ และมาตรา ๓๒/๓ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๓๒/๑ การจําหน่ายต้นฉบับหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในต้นฉบับ หรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒/๒ การกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทําหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะเป็นการทําซ้ําที่จําเป็นต้องมีสําหรับการนําสําเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทํางานได้ตามปกติ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา ๓๒/๓ ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ให้บริการ หมายความว่า (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ ของบุคคลอื่น (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น คําร้องตามวรรคหนึ่ง ต้องมีรายละเอียดโดยชัดแจ้งซึ่งข้อมูล หลักฐานและคําขอบังคับ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ให้บริการ (๒) งานอันมีลิขสิทธิ์ที่อ้างว่าถูกละเมิดลิขสิทธิ์ (๓) งานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ (๔) กระบวนการสืบทราบ วันและเวลาที่พบการกระทํา และการกระทําหรือพฤติการณ์ ตลอดทั้ง หลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ (๕) ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๖) คําขอบังคับให้ผู้ให้บริการนํางานที่ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของ ผู้ให้บริการ หรือระงับการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นใด เมื่อศาลได้รับคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลทําการไต่สวน หากศาลเห็นว่าคําร้องมีรายละเอียด ครบถ้วนตามวรรคสาม และมีเหตุจําเป็นที่ศาลสมควรจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องนั้น ให้ศาลมีคําสั่งให้ ผู้ให้บริการระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการตามระยะเวลาที่ศาลกําหนด โดยคําสั่งศาลให้บังคับผู้ให้บริการ ได้ทันที แล้วแจ้งคําสั่งนั้นให้ผู้ให้บริการทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นนี้ ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ดําเนินคดี ต่อผู้กระทําละเมิดลิขสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือนํางานที่อ้างว่าได้ทําขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์
  3. 3. หน้า ๙ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ในกรณีที่ผู้ให้บริการมิใช่ผู้ควบคุม ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการนั้นได้ดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่แล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิด เกี่ยวกับการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งและหลังจากคําสั่งศาลเป็นอัน สิ้นผลแล้ว ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามคําสั่งศาลตามวรรคสี่” มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “มาตรา ๕๑/๑ นักแสดงย่อมมีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นนักแสดงในการแสดงของตน และมีสิทธิ ห้ามผู้รับโอนสิทธิของนักแสดงหรือบุคคลอื่นใดบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือทําโดยประการอื่นใด แก่การแสดงนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของนักแสดง และเมื่อนักแสดงถึงแก่ความตาย ทายาทของนักแสดงมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ ให้นํามาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๒/๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลม” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ และมาตรา ๕๓/๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ “หมวด ๒/๑ ข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้น อาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ให้ถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ มาตรา ๕๓/๒ ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่างานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นได้มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิด้วย ถ้าได้กระทําการอย่างใด อย่างหนึ่งแก่งานนั้นดังต่อไปนี้ (๑) นําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจําหน่าย (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน มาตรา ๕๓/๓ การกระทําใด ๆ ดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
  4. 4. หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (๑) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน (๒) การลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร (๓) การเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร ลักษณะของข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๒) และงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์ที่มีการลบหรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิตาม (๓) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๓/๔ การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีหรือการให้บริการเพื่อก่อให้เกิดการหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทํานั้นอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ ของนักแสดง ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๕ การกระทําตามมาตรา ๕๓/๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการ ทางเทคโนโลยี (๑) การกระทํานั้นจําเป็นสําหรับการกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่จําเป็นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการใช้งานร่วมกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น (๓) เพื่อประโยชน์แห่งการวิจัย วิเคราะห์ และหาข้อบกพร่องของเทคโนโลยีการเข้ารหัส โดยผู้กระทําต้องได้มาซึ่งงานหรือสําเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายและได้ใช้ความพยายาม โดยสุจริตในการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว (๔) เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ ตรวจสอบ หรือแก้ไขระบบความมั่นคงปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ ของระบบคอมพิวเตอร์ หรือของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วแต่กรณี (๕) เพื่อระงับการทํางานของมาตรการทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวกับการรวบรวมหรือกระจาย ข้อมูลบ่งชี้ส่วนบุคคลที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตของผู้ที่เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการกระทํานั้นต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์โดยบุคคลอื่น (๖) การกระทําโดยเจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมาย เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การอันจําเป็นในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือวัตถุประสงค์อื่นในทํานองเดียวกัน (๗) การกระทําโดยสถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด หรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพ สาธารณะ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากําไร เพื่อเข้าถึงงานอันมี

หลักการเลือกคอมพิวเตอร์

     คอมพิวเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานของหลายองค์กร ทั้งการพิมพ์เอกสาร จัดเก็บข้อมูล นำเสนอผลงาน รวมทั้ปัจจุบันงการออกแบบงานต่างๆ ซึ่งลักษณะของงานจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป ผู้ใช้ควรศึกษาถึงหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ซึ่งอาจปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
.๑ การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรือาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆน้อยๆเป็นต้น
                ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อจะดีกว่า เพราะ จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้บ่อยครั้ง จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (graphic user) งานด้านกราฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆตัว เช่น โปรแกรม Photoshop, IIIustrator, CorelDraw, PageMaker เป็นต้น ซึ่งราคาคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
)ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (advanced graphic user) ซึ่งต้องแสดงผลงานในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D animation ผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในระดับการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD, 3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรจะเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ระดับผู้เล่นเกม (gammer user) ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน และยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียนแล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
.๒ วิธีการกำหนดคุณลักษณะคอมพิวเตอร์
                เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer :PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
๑)สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยาว์ คุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Celeron D, Pentium 4, Pentium D หรือ AMD Sempron, AMD Athlon 64x2
แรม
ประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
เลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอแสดงผล ควรเลือกแบบซีอาร์ที ขนาด ๑๗ นิ้ว ไดรฟ์ซีดี ดีวีดี โมเด็ม ลำโพง และอื่นๆ เลือกรุ่นที่สามารถใช้งานได้ในราคาปานกลางก็เพียงพอ
๒)สำหรับการใช้งานด้านกราฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียน โปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน  อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ด
มีสล็อต PCl Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียง
ใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ ใช้เป็นแบบ10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๑๙ นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป (สำหรับตัวเครื่อง จอภาพ และอุปกรณ์อื่นๆที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน ๓๐๐ วัตต์)
สำหรับลำโพง หูฟัง เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องสำรองไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถเลือซื้อได้ตามความต้องการ และหากต้องการเก็บข้อมูลปริมาณมาก อาจจะเลือกบลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับการใช้งานกราฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆโดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเป็นดังนี้
หากใช้งานด้านตัดต่อภาพยนตร์ อาจเพิ่มแรมเป็น 4 GB ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA-II และขนาด 600 GB ขึ้นไป การ์ดจอประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น Vidia Quadro การ์ดเสียงและลำโพงคุณภาพสูงแบบ Surround และอาจเลือกใช้บลูเรย์ดิสแทนดีวีดีก็ได้
สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความจุ และมาตรฐานต่างๆอย่างไร ก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมายทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คุณลักษณะที่เหมาะสมและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64x2
แรม
ชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน  ๒ แถว เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ด
รองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCl Express x16 จำนวน ๑-๒ ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮาร์ดดิสก์
อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCl Express  ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD1300 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLIหรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียง
ใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลน
ใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbpsหรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้
Optical Storage
ไดว์ฟ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด ๒๒ นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้า
ควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ ๕๐๐โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป